รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์น้ำหมักใบสาบเสือ

ชื่อโครงการ  การศึกษาประสิทธิภาพน้้าหมักใบสาบเสือในการยับยั้ง Staphylococcus aureus ที่ก่อโรค เต้านมอักเสบในโคนม
ผู้จัดทำ
   นางสาวณัฏฐธิดา ฤทธิ์ก้าลัง
   นางสาวศิริลักษณ์ แก้วโสต
   นางสาวเสาวคนธ์ บุญแพง
ครูที่ปรึกษา
   นางสาวลินรดี บุญดีชยาภรณ์
   นางสาวอัจฉราภา วันอินทร์
   นางสาวไพรินทร์ พหูพจน์
   นายสมเกียรติ เฉลยอาจ
ที่ปรึกษาพิเศษ
   นายเริงศักดิ์ เข็มทอง
   นางสุจิตรา รัตนโน
สถานศึกษา
   วิทยาลัยเทคนิคโคกสำโรง
ปีการศึกษา
   2562-2563
บทคัดย่อ
   การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักใบสาบเสือในการยับยั้ง Staphylococcus aureus ที่ก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนม โดยการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของปริมาณน้ำใบ สาบเสือที่ใช้ในการหมัก ได้แก่ ปริมาณน้ำสะอาดต่อน้ำใบสาบเสือ 1:1 และ 1: 2 โดยใช้เวลาในการหมัก 60 วัน พบว่า น้ำหมักใบสาบเสือสูตรที่ 1 เป็นของเหลว สีเหลืองใส มีกลิ่นแอลกอฮอล์ และน้ำหมักใบสาบเสือสูตรที่ 2 เป็น ของเหลว สีเหลืองเข้ม มีกลิ่นแอลกอฮอล์ และการศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการหมักใบสาบเสือที่มีผลต่อ ปริมาณความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณแอลกอฮอล์ พบว่า น้ำหมักใบสาบเสือสูตรที่ 1 มีปริมาณความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 4.82 มีปริมาณแอลกอฮอล์ เท่ากับร้อยละ 7.10 น้ำหมักใบสาบเสือสูตรที่ 2 มีปริมาณความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 4.76 มีปริมาณแอลกอฮอล์ เท่ากับร้อยละ7.40 ผลทดลองพบว่า เวลาที่ใช้ในการหมักเพิ่มขึ้นปริมาณความ เข้มข้นของกรด และปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น การศึกษาประสิทธิภาพน้ำหมักใบสาบเสือในการ ยับยั้ง Staphylococcus
aureus ที่ก่อโรคเต้านมอักเสบในโคนม ด้วยวิธี Agar disc diffusion เวลา 48 ชั่วโมง โดยการเปรียบเทียบกับตัว ควบคุมที่เป็นเอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ กับน้ำหมักใบสาบเสือสูตรที่ 1 น้ำหมักใบสาบเสือสูตรที่ 2 พบว่า ขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลางของการยับยั้ง Staphylococcus aureus ของตัวควบคุม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.83 มิลลิเมตร ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางของการยับยั้ง Staphylococcus aureus ของน้ำหมักใบสาบเสือสูตรที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 0.00 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของการยับยั้ง Staphylococcus aureus ของน้ำหมักใบสาบเสือสูตรที่ 2 มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.17 มิลลิเมตร พบว่า น้ำหมักใบสาบเสือสูตรที่ 2 มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง Staphylococcus aureus การศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อน้ำหมักใบสาบเสือ จ้านวน 10 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมี ความพึงพอใจต่อน้ำหมักใบสาบเสือในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.50 อยู่ในระดับมากที่สุด